กลอนแปด คือ
แบบแผนในการร้อยกรองอย่างหนึ่ง 1 บทมีแปดวรรค วรรคละ 7-9 คำ มีสัมผัสระหว่างวรรค และสัมผัสระหว่างบท

แผนผังกลอน 8

ลักษณะคำประพันธ์
๑. บท บทหนึ่งมี ๔ วรรค
วรรคที่หนึ่งเรียกวรรคสดับ วรรคที่สองเรียกวรรครับ
วรรคที่สามเรียกวรรครอง วรรคที่สี่เรียกวรรคส่ง
แต่ละวรรคมีแปดคำ จึงเรียกว่า กลอนแปด
๒. เสียงคำ กลอนทุกประเภทจะกำหนดเสียงคำท้ายวรรคเป็นสำคัญ กำหนดได้ ดังนี้
คำท้ายวรรคสดับ | กำหนดให้ใช้ได้ทุกเสียง |
คำท้ายวรรครับ | กำหนดห้ามใช้เสียงสามัญกับตรี |
คำท้ายวรรครอง | กำหนดให้ใช้เฉพาะเสียงสามัญกับตรี |
คำท้ายวรรคส่ง | กำหนดให้ใช้เฉพาะเสียงสามัญกับตรี |
๓. สัมผัส
ก. สัมผัสนอก หรือสัมผัสระหว่างวรรค อันเป็นสัมผัสบังคับ มีดังนี้
คำสุดท้ายของวรรคที่หนึ่ง (วรรคสดับ) สัมผัสกับคำที่สามหรือที่ห้า ของวรรคที่สอง (วรรครับ)
คำสุดท้ายของวรรคที่สอง (วรรครับ) สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่สาม (วรรครอง) และคำที่สามหรือที่ห้าของวรรคที่สี่ (วรรคส่ง)
สัมผัสระหว่างบท ของกลอนแปด คือ
คำสุดท้ายของวรรคที่สี่ (วรรคส่ง) เป็นคำส่งสัมผัสบังคับให้บทต่อไปต้องรับสัมผัส ที่คำสุดท้ายของวรรคที่สอง (วรรครับ)
ข. สัมผัสใน แต่ละวรรคของกลอนแปด แบ่งช่วงจังหวะออกเป็นสามช่วง ดังนี้
หนึ่งสองสาม – หนึ่งสอง – หนึ่งสองสาม
ฉะนั้นสัมผัสในจึงกำหนดได้ตามช่วงจังหวะในแต่ละวรรคนั่นเอง ดังตัวอย่าง
อันกลอนแปด – แปด คำ – ประจำวรรค
วางเป็นหลัก – อัก ษร – สุนทรศรี
ตัวอย่างกลอนแปด
เศรษกิจพอเพียงเพียงพอใช้
ทรัพย์ที่ได้พึงประมาณการซื้อหา

รู้พอดีเก็บหอมออมเงินตรา
เพื่อวันหน้าคราลำบากไม่ยากจน
กรอบแนวคิด ห้าส่วนควรตระหนัก
ยึดเป็นหลักบริหารพลันเกิดผล
พระราชดำรัสปรัญญาสู่สากล
น้อมกมลตามรอยพ่อ...เศรษกิจพอเพียง